1. ความสำคัญของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ยังเป็นโรคที่ถูกมองข้าม ละเลย หรือ ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่การได้รับความรัก ความเข้าใจ และการใส่ใจ จากคนรอบข้างและในครอบครัวจะทำให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าจนถึงการทำร้ายตนเองในผู้สูงอายุได้ค่ะ
2. อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
สำหรับในผู้สูงอายุ
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่พูดว่าตนเองเศร้า แต่มันจะบ่นว่า เบื่อ ไม่อยากทำอะไร จากที่เคยชอบทำกิจกรรมบางอย่าง ตอนนี้ ไม่อยากทำ บ่นเบื่อ ไม่ชอบแล้ว หมดความสุข ความสนุกในชีวิต
นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ที่พบบ่อยในสูงอายุ จะพบอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลียไม่มีแรง ไม่อยากทานอาหาร เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย

3. ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
3.1 ปัจจัยทางด้านร่างกาย
- สารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้เสียสมดุลทางอารมณ์
- มีโรคทางกายบางอย่างที่ส่งผลกระทบถึงสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง
- การเจ็บป่วยที่ไม่ได้ส่งผลกระทบถึงสมองโดยตรง แต่ทำให้รู้สึกเครียดและกังวล เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต หรืออาการปวดข้อ เป็นต้น
3.2 การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม
- หากผู้สูงอายุไม่มีสังคม ไม่มีเพื่อนคุย ต้องอยู่บ้านคนเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว ยิ่งถ้าคนในครอบครัวไม่มีเวลาให้ นานวันเข้า จากความเศร้าธรรมดาๆ ก็อาจพัฒนาเป็นภาวะซึมเศร้าได้ หรือการที่ผู้สูงอายุเพิ่งสูญเสียคนใกล้ชิดหรือบุคคลอันเป็นที่รักไป
ผู้สูงอายุมักจะทำใจไม่ได้ และเกิดความรู้สึกไม่อยากทำอะไรหรือพบเจอใคร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายของการเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า
- การเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียหน้าที่ในสังคม เกษียณอายุ อยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ไปทำงาน และยิ่งถ้าบุคลิกเดิมเป็นคนไม่ค่อยเข้าสังคม ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวจะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
Lacus nunc condimentum elit, nec scelerisque urna nisl at turpis. Morbi nec accumsan sem. Suspendisse eget elit mauris dolor.
Mind D Clinic เป็นพื้นที่ปลอดภัย รับฟังทุกปัญหา
พร้อมเดินเคียงข้างไปด้วยกัน เพื่อสร้างรอยยิ้มให้กับทุกๆ คน